Author Archives: Forest

Raspberry Pi 4 ใช้ทำเป็น Home WiFi Router

เคยสั่งซื้อบอร์ด Raspberry Pi 4 จากเว็บ AliExpress เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2563) ช่วงนั้นไม่แพงมากประมาณ 2,500 บาท ราคารวมบอร์ด, เมมโมรี่การ์ด 64 GB, กล่องราสเบอร์รี่พาย และอะแดปเตอร์จ่ายไฟเรียบร้อยแล้ว แต่ตอนนี้ราคาปรับตัวขึ้นไปเกือบ 2 เท่า

เดิมใช้งาน Raspberry Pi อยู่บนโอเอส Ubuntu 20.04 ในโหมด Desktop Computer ซึ่งก็พอทำงานได้ แต่การใช้งานบางอย่างก็ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร หลังจากที่ Ubuntu ออกเวอร์ชัน 22.04 นำมาทดลองใช้งานแล้วราบรื่นดีมาก และประการสำคัญคือ นำมาทำเป็น Home WiFi Router ได้เป็นอย่างดี

ก่อนอื่นขออธิบายรายละเอียดการใช้งานกันก่อน เนื่องจากที่บ้านอยู่นอกเขตของอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ จึงเลือกใช้งานอินเตอร์เน็ตจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ หากต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตจากอุปกรณ์อื่นๆในบ้าน เช่น โน้ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ต ก็จะแชร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือไปใช้ แต่ก็มีปัญหาหลายอย่างเหมือนกันกับวิธีการนี้ กล่าวคือ มือถือบางยี่ห้อตั้งเวลาปิดอัตโนมัติไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน เปิดแชร์ไวฟายไว้ตลอดเวลาไม่ได้ และการเปิดแชร์ไวฟายทิ้งไว้ก็เป็นการสูบแบตเตอรี่ของมือถือให้หมดไปอย่างรวดเร็ว

Continue reading

อภิณหปัจจเวกขณ โดยพระราชพรหมยาน

วันนี้วันพระ ขออนุญาตเผยแพร่ธรรมบรรยาย เรื่องอภิณหปัจจเวกขณ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี

ติดตั้ง Speedtest cli บน Ubuntu Raspberry Pi 4

เนื่องจากติดตั้ง Ubuntu 22.04 บนบอร์ด Raspberry Pi 4 เมื่อติดตั้งโอเอสเรียบร้อยไม่สามารถติดตั้งโปรแกรม speedtest แบบ command line ปรกติได้ จึงต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บ speedtest.net ด้วยตัวเอง

https://www.speedtest.net/apps/cli

แล้วเลือก Download for Linux->aarch64

เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยเราจะได้ไฟล์ ookla-speedtest-1.1.1-linux-aarch64.tgz จากนั้นแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง

$ tar xvzf ookla-speedtest-1.1.1-linux-aarch64.tgz
$ speedtest

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

บางครั้งความเร็วเน็ตบ้าน หรือโทรศัพท์มือถือของเราอาจจะขาดๆหายๆไม่ค่อยเสถียร เราสามารถทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตแบบไม่ต้องติดตั้งแอพจากลิงค์ด้านล่างนี้

http://tfexrobots.com/speedtest

โดยลิงค์นี้สามารถทดสอบได้ทั้งเครื่องพีซี และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศทำให้ความเร็วที่ได้รับจากการทดสอบค่อนข้างแม่นยำ

Ubuntu Desktop 22.04 สำหรับ Raspberry Pi

สิ้นสุดการรอคอยเสียที สำหรับผู้ใช้งาน Raspberry Pi ที่ต้องการทำงานบน Ubuntu Desktop ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งในช่วงที่บอร์ด Raspberry Pi 4 เปิดตัวมาในช่วงแรกๆ ตอนนั้นเกือบทุกโอเอสไม่ว่าจะเป็น Raspberry Pi OS, Ubuntu 20.04 ยังเป็นเวอร์ชันเบต้าทำงานได้ไม่ราบรื่นเท่าที่ควร แต่เท่าที่ได้ทดลองใช้ Ubuntu Desktop 22.04 แล้วต้องบอกว่าข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆถูกแก้ไขไปเกือบหมด และมีฟีตเจอร์ใหม่ๆที่น่าใช้งานเพิ่มเข้ามาอีกหลายอย่าง

บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องรอ Ubuntu Desktop 22.04 เหตุผลก็เพราะว่าท่านจะได้ใช้งานโปรแกรมเดสก์ทอปที่สมบูรณ์แบบไปพร้อมๆกับติดตั้งแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ทั้งหลายแหล่ เพื่อพัฒนาโปรแกรมแบบ Client/Server ภายในเครื่องเดียวกันได้เลย โดยไม่ต้องไปยุ่งยากติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่ง และเดสก์ทอปที่ใช้งานประจำวันอีกเครื่อง จุดที่พบการปรับปรุงที่ชัดเจน

  • โปรแกรม Chromium จากเดิมที่เสียงกระตุก ขาดหาย เปิดยูทูปไม่สะดวก ใช้บราวเซอร์ Firefox ได้ตัวเดียว ซึ่ง extension บางอย่างใน Chromium ไม่มีใน Firefox เช่น Line Chat
  • โปรแกรม OpenVPN Client เรียกใช้งานสะดวกง่ายดาย โดยไม่ต้องไปติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม
  • เชื่อมต่อกับอุปกรณ์บลูทูธได้สะดวกกว่าเดิม

Ubuntu Desktop 22.04 จะยอดเยี่ยมแค่ไหน ก็ขอเชิญท่านผู้อ่านไปทดสอบใช้งานกันดูนะครับ…

ปัญหาการอัพเดต Windows 10 (KB5011831)

ผมพบปัญหาการอัพเดตแพทช์ KB5011831 บน Windows 10 – 21H2 ตอนแรกพยายามอัพเดตผ่านโปรแกรม Windows Update อยู่หลายรอบก็ไม่ผ่าน แต่ละรอบก็ใช้เวลานานมาก เพราะไฟล์อัพเดตแพทช์มีขนาด 600-700 MB. เลยทีเดียว เมื่ออัพเดตผ่านแอพไม่ได้ก็ทดลองดาวน์โหลดแพทช์โดยตรงแล้วมาอัพเดตแบบออฟไลน์ก็ยังไม่ผ่านอีก ทดลองอัพเดตพีซีเครื่องอื่นๆอีก 3 เครื่องก็ไม่ผ่านอีก มันอะไรของมันว๊า?…

ไปหาข้อมูลว่าเจ้าแพทช์ตัวนี้เขาอัพเดตอะไรบ้าง ถึงได้มีปัญหาเยอะจัง พบรายละเอียดดังนี้ แพทช์ KB5011831 เป็นส่วนของ Quality Updates ในเดือนเมษายน

The KB5011831 cumulative update preview is part of Microsoft’s April 2022 monthly “C” update. The Windows 10 KB5011831 cumulative update preview includes twenty-six improvements or fixes, with the six highlighted fixes listed below:

  • New! Updates the servicing for the Secure Boot component of Windows to include new improvements.

เจออัพเดตเงื่อนไขแรกก็ถึงบางอ้อเลย เพราะพีซีทุกเครื่องที่ผมใช้งานไม่ได้มีการเปิดใช้งานระบบ Secure Boot เลย เพราะบางเครื่องติดตั้งโอเอสแบบ Dual Boot บ้าง บางเครื่องติดตั้งวินโดว์สอย่างเดียว แต่ไบออสมีปัญหาไม่สามารถ Enable ฟีตเจอร์ Secure Boot ได้ ดังนั้นหากเครื่องพีซีของท่านอัพเดตแพทช์ตัวนี้ไม่ผ่านก็ไม่ต้องตกใจครับ

แชร์เน็ตจากสมาร์ทโฟนให้ราสเบอรี่พาย

เนื่องจาก Windows 10 บน Raspberry Pi 4 ไม่สามารถใช้งาน WiFi ได้ เราจึงมีทางเลือกในการแชร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือไปให้ราสเบอรี่พายใช้งานอีก 2 วิธีคือ

1. แชร์เน็ตผ่านสาย USB วิธีการนี้ไม่ยุ่งยากนัก โดยเราเสียบสาย USB ของโทรศัพท์เข้ากับพอร์ต USB ของราสเบอรี่พาย จากนั้นก็เปิดแชร์เน็ตผ่าน USB บนโทรศัพท์ โดยไปที่ การตั้งค่า->เพิ่มเติม->การปล่อยสัญญาณและฮอตสปอตแบบพกพา แล้วกดเปิด การปล่อยสัญญาณผ่าน USB โดยไม่ต้องไปเปิด Wi-Fi ฮอตสปอตแต่อย่างใด เท่านี้เครื่องราสเบอรี่พายก็จะมีไอคอนเน็ตเวิร์กโผล่ขึ้นมาที่ทาสก์บาร์

2. แชร์เน็ตผ่านสัญญาณบลูทูธ ซึ่งวิธีการจะยุ่งยากกว่าแบบแรก ขั้นตอนแรกเราต้องทำการเชื่อมต่อ (Pair) อุปกรณ์ทั้งสองให้รู้จักกันก่อน โดยไปที่ Settings->Devices->Bluetooth->Add

Continue reading

อย่าประมาทกับมัลแวร์เด็ดขาด

บังเอิญมีความจำเป็นจะต้องแปลงไฟล์ Audio จากเสียงที่อัดในโทรศัพท์ ซึ่งเป็นนามสกุล *.aac ไปเป็นไฟล์นามสกุล *.mp3 ก็เลยจำเป็นต้องพึ่งพาโปรแกรมแปลงสารพัดรูปแบบ (FormatFactory) บนเน็ตมีให้ดาวน์โหลดเยอะแยะมากมาย ตอนติดตั้งวินโดวส์ดีเฟนเดอร์ตรวจเจอไวรัส แต่ก็ไม่ได้สงสัยอะไร เพราะ Windows 10 Pro Build ก่อนหน้านี้ ก็เคยติดตั้งได้ไม่มีปัญหา เลยเลือกกดอนุญาตให้ติดตั้ง ขณะติดตั้งวินโดวส์ดีเฟนเดอร์แจ้งเตือนไวรัสเข้ามารัวๆ

หลังจากนั้นเครื่องโน้ตบุ๊กก็เริ่มรวน เช่น ไวฟายเน็ตเวิร์กปิดๆเปิดๆเอง โดยไม่ทราบสาเหตุ ที่สำคัญคือไม่สามารถอัพเดตแพทช์ของโปรแกรมวินโดวส์ดีเฟนเดอร์ได้ สรุปว่าต้องล้างโปรแกรมในเครื่องโน้ตบุ๊ก ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ และติดตั้งวินโดว์ส 10 ลงไปใหม่ ไม่น่าพลาดเลยเรา…

Windows 10 WiFi บน Raspberry Pi 4

ช่วงแรกใช้งานเน็ตเวิร์กบนราสเบอรี่พายด้วยการต่อสายแลน ตอนหลังต้องใช้แชร์อินเตอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือไปให้ราสเบอรี่พายใช้งาน แต่ปัญหาคือไดร์เวอร์ไวฟายบน WoR ใช้ไม่ได้ เลยพยายามหาดาวน์โหลดจากเว็บทั่วไป ค้นหาบนกูเกิลไม่พบข้อมูลอะไรเกี่ยวกับไดร์เวอร์ไวฟาย จึงลองไปหาจากไมโครซอฟต์ Bing ปรากฏว่ามีเว็บให้ดาวน์โหลด เห็นจำนวนดาวน์โหลด 26,633 ครั้ง เลยคิดว่าปลอดภัย แต่…ที่ไหนได้?

เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยชื่อไฟล์ก็สื่อว่าเป็นไดร์เวอร์ไวฟายของราสเบอรี่พาย (เนียนมาก ขอบอก…555)

พอติดตั้งเสร็จหน้าตาโปรแกรมเป็นแบบนี้ จากไดร์เวอร์ไวฟายแปลงร่างกลายเป็นโปรแกรม Driver Booster เฉยเลย

Continue reading

ระบบปฏิบัติการสำหรับ Raspberry Pi 4

หลังจากใช้งานบอร์ด Raspberry Pi 4 (4 GB) มานานพอสมควร วันนี้จะมาแนะนำระบบปฏิบัติการที่สามารถติดตั้ง และทำงานได้ราบรื่นที่สุดสำหรับเจ้าบอร์ดคอมพิวเตอร์จิ๋ว Raspberry Pi 4 กัน ซึ่งต่อไปจะขอเรียกเจ้า Raspberry Pi 4 (4 GB) สั้นๆว่า “ราสเบอรี่ พาย”

การใช้งานเป็น Home Server
สำหรับราสเบอรี่พายนี้สามารถใช้งานเป็นโฮมเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างดีทีเดียว เช่น สามารถใช้เป็น Pi-hole Server, Database Server, เว็บเซิร์ฟเวอร์ ในเครื่องเดียวกันได้สบายๆเลย ระบบปฏิบัติการที่ดีสุดสำหรับโฮมเซิร์ฟเวอร์คือ Ubuntu Server ครับ

การใช้งานเป็น Desktop Client
ช่วงที่ราสเบอรี่พายเปิดตัวออกมาแรกๆ ระบบปฏิบัติการด้านเดสก์ท็อปทุกตัวมีบักเล็กๆน้อยๆแตกต่างกันไป แต่ช่วงหลังบั๊กต่างๆถูกปรับปรุงดีขึ้นแล้ว สำหรับงานด้านเดสก์ท็อป Manjaro Linux ทำงานได้เวิร์กที่สุด สามารถ connect เข้ากับลําโพงบลูทูธได้อย่างดี ใช้โปรแกรม Remmina รีโมทไปเครื่องวินโดว์สได้ราบรื่น ดูหนัง ฟังเพลง ได้รื่นสุดๆ

การใช้งานเป็น Windows Client
สำหรับบางท่านที่งานส่วนใหญ่อยู่บนระบบปฏิบัติการวินโดว์สก็สามารถติดตั้ง Windows 10/11 ลงบนราสเบอรี่พายได้ (ผมเลือกเป็น Windows 10 เพราะกังวลว่า Windows 11 บนราสเบอรี่พายจะทำงานช้า) แต่ต้องยอมรับก่อนว่าบอร์ดราสเบอรี่พาย บนระบบปฏิบัติการ Windows ทำงานได้ช้ากว่าระบบปฏิบัติการ Linux หากเปิดโปรแกรมเล่นภาพยนต์ HiDef บนราสเบอรี่พาย ภาพอาจจะเกิดการกระตุก ไม่ราบรื่น แต่ทำงานอย่างอื่น เช่น เปิดเว็บบราวเซอร์ พิมพ์เอกสารเวิร์ด เอกซ์เซล ได้ปรกติ และช่วงหลังผู้พัฒนาโปรแกรมหลายๆค่ายเริ่มปล่อยโปรแกรมที่เป็นเวอร์ชัน Arm64 บิท ออกมาเยอะแล้ว บนวินโดว์สราสเบอรี่พาย ท่านจะสัมผัสได้เลยว่า การรันโปรแกรมบนโหมด x86 กับ AArch64 นั้นมีความเร็ว และความเสถียรต่างกันเยอะ

หลังจากติดตั้งวินโดว์สบนราสเบอรี่พายเรียบร้อย หากเราต้องการใช้ฟีตเจอร์ต่างๆของวินโดว์สได้อย่างสมบูรณ์ก็สามารถซื้อ CD-Key Windows 10 บนเว็บออนไลน์ที่ราคาไม่แพงมา Activate ซึ่งผมทดลองแล้วมันแอคติเวทได้จริงครับ จากนั้นเจ้าราสเบอรี่พายก็จะทำงานบนวินโดว์ส 10 ได้อย่างราบรื่นเลยทีเดียว