Category Archives: MX Linux

การใช้งาน MX Linux 18.3 VirtualBox – part 3

บทความที่ 3 นี้ จะอธิบายการติดตั้ง WordPress ลงบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ MX Linux โดยก่อนที่เราจะไปถึงขั้นตอนการติดตั้ง ผมขอพูดถึงการใช้งานตัวช่วยที่เป็นไฟล์ shell ซึ่งอยู่ในไดเรคทอรี่ home ดังนี้

update.sh – ใช้ในการอัพเดตซอฟต์แวร์บน MX Linux ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
walog.sh – ตรวจสอบการใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์แบบเรียลไทม์
welog.sh – ตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆบนเว็บเซิร์ฟเวอร์

สามารถใช้งานโดยเปิดโปรแกรม Terminal แล้วป้อนคำสั่งดังนี้

mxuser@mx-linux:~
$ sudo ./update.sh

Continue reading

การใช้งาน MX Linux 18.3 VirtualBox – part 2

บทความที่ 2 นี้ จะอธิบายรายละเอียดในส่วนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งโปรแกรมที่เราใช้งานคือ Apache 2.4 หากเราต้องการความสะดวกในการพัฒนาเว็บเราสามารถตั้งค่าไอพีแบบคงที่ไม่ต้องเปลี่ยนตามค่าเซิร์ฟเวอร์ DHCP เพราะสะดวกในการทดสอบโปรแกรมกับเครื่องพีซีในวงแลนเดียวกัน โดยเปิดโปรแกรม Network Connections เลือก Wired Connection 2 แล้วกดปุ่ม Edit

Continue reading

การใช้งาน MX Linux 18.3 VirtualBox – part 1

จุดประสงค์ของการใช้งาน MX Linux บน VirtualBox คือพัฒนาโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์บนเครื่องพีซีที่ใช้งาน Windows หรือ Mac ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา Python โดยทำงานอยู่ฝั่ง Back end ส่วนโปรแกรมที่ทำงานทางด้าน Front end จะใช้ภาษา PHP เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น

    • โปรแกรม Front end ใช้ PHP, WordPress, Joomla
    • โปรแกรม Back end ใช้ Python, Django หรือโปรแกรมที่พัฒนาเอง

เพื่อความสะดวกสำหรับบางท่านที่ยังไม่เคยใช้ลีนุกซ์ผมจึงทำอิมเมจไฟล์ MX Linux.ova ขึ้นมา เพื่อทดลองใช้งานและทำความคุ้นเคย โดยในไฟล์อิมเมจมีแพ็กเกจพื้นฐานของ MX Linux ทั่วไป เช่น Libre Office, Firefox, Gimp, Thunderbird เป็นต้น พร้อมทั้งติดตั้ง OpenSSH, Webmin, Apache, MySQL, PHP7, phpMyAdmin, Python และ Eric เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชัน

โดย MX Linux ทำงานได้ทั้งสองฝั่งพร้อมกัน หากเราติดตั้ง WordPress เรียบร้อยฝั่ง Front end ก็จะเริ่มทำงานได้ทันที ส่วนทางด้าน Back end เราสามารถพัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการของเรา ซึ่งในไฟล์อิมเมจ MX Linux.ova นี้ ติดตั้งโปรแกรมจากแพ็กเกจต้นฉบับทั้งหมดไม่ได้ดัดแปลงเพิ่มเติมอะไรลงไป ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าปลอดจากไวรัส และสปายแวร์แน่นอน

ก่อนทำการติดตั้งต้องเข้าไปตั้งค่า Bios ในส่วนการใช้งาน Virtualization Technology ให้เป็น Enable

Continue reading

ติดตั้ง MX Linux 18.3×64 บน VirtualBox

สำหรับการทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาบนเว็บไซต์ ปรกติผมจะทำบนลีนุกซ์เซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก เนื่องจากคุ้นเคยและใช้งานมานาน เมื่อพัฒนาโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยก็ค่อยอัพโหลดขึ้นเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้งานจริง แต่เครื่องพีซีที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆก็ยังทำบนเครื่องพีซีวินโดวส์อยู่ดี ซึ่งในการดีบักและแก้ไขโปรแกรมสำหรับบนลีนุกซ์และวินโดวส์จะมีความแตกต่างกันอยู่หลายส่วน ทำให้มีปัญหาจุกจิกเล็กๆน้อยๆในการค้นหาบั๊กอยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงหลังๆนี้ความเร็วของเครื่องพีซีพัฒนาไปมาก สามารถนำลีนุกซ์ไปติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows หรือ macOS ผ่านโปรแกรม Virtual Box ได้ ทำให้การพัฒนาโปรแกรมสำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เป็นเรื่องจริงครับ? หากเรานำ MX Linux ที่ติดตั้งบน VirtualBox ไปใช้งานปรกติในชีวิตประจำวัน อาจจะไม่ค่อยทันใจเท่าที่ควร เช่น การดูหนัง ดู YouTube หรือวีดีโอความละเอียดสูง แต่ถ้าหากนำมาใช้เขียนโปรแกรมสำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ผมรับประกันว่าเวิร์กแน่นอน ดังนั้นผมจึงนำ MX Linux ที่ใช้ในการติดตั้งบนโปรแกรม VirtualBox มาแนะนำท่านผู้อ่านครับ

Continue reading

ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน MX Linux

เมื่อนึกย้อนกลับไปช่วงเริ่มต้นใช้งานลีนุกซ์ใหม่ๆ ตอนนั้นทดลองเล่น Redhat เวอร์ชัน 1.x ซื้อแผ่นซีดีจากพันธุ์ทิพย์มาแบบงงๆว่ามันคืออะไร? รู้แต่ว่ามันคือโอเอสเหมือนวินโดวส์ พอติดตั้งเสร็จก็ใช้งานแบบ text mode เป็นหลัก สั่งงานด้วย Command Line ล้วนๆ เพราะพยายามติดตั้งระบบกราฟฟิกแล้วไม่ผ่าน สมัยนั้นการ์ดจอกับเมนบอร์ดแยกกัน ไม่มีอินเตอร์เน็ตให้ดาวน์โหลดง่ายๆเหมือนทุกวันนี้ จนเวอร์ชันหลังสุดที่จับ Redhat ก็เวอร์ชัน 6.2 ซึ่งระบบกราฟฟิกเริ่มพัฒนาขึ้นมาเยอะแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหากับระบบตัดคำภาษาไทยที่ใช้กับโปรแกรมพวกเวิร์ดโปรเซสเซอร์ จากนั้นก็ทิ้งช่วงไปไม่ได้ใช้งานระบบปฏิบัติการลีนุกซ์หลายปี จนมาช่วง 3 ปีหลังนี้มีเวลาเล่นลีนุกซ์มากขึ้น ได้เห็นพัฒนาการของลีนุกซ์ที่ดีขึ้นในทุกๆด้าน

ปัจจุบันการติดตั้งโปรแกรมบนลีนุกซ์เกือบทุกดิสทริบิวชันจะมีโปรแกรมสำหรับจัดการแพ็กเกจ คล้ายๆเป็นพวกแอพสโตร์อะไรทำนองนั้น ซึ่งทำหน้าที่ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมให้เสร็จสรรพ สะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาหาลิงก์ดาวน์โหลดโปรแกรมเอง จากนั้นต้องติดตั้งผ่านโปรแกรม Terminal ซึ่งบางครั้งอาจถึงขั้นต้องคอมไพล์ซอร์สโค้ดเองด้วยซ้ำ! สำหรับบน MX Linux ก็มี MX Package Installer สำหรับคอยจัดการเรื่องการติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม หรือลบโปรแกรมที่ไม่ต้องการออกจากระบบปฏิบัติการ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับโปรแกรม Package Installer โดยกดที่ Start Menu แล้วเปิดโปรแกรม MX Package Installer

Continue reading

ติดตั้งปุ่ม Grave (~) สลับภาษาบน MX Linux

สำหรับท่านที่ใช้งาน Windows 10 ส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับการใช้ปุ่ม Grave (~) เพื่อสลับขณะใช้แป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ-ไทย ผมเองก็เช่นกันต้องใช้งานทั้ง Windows 10 และ MX Linux ถ้าไปใช้ปุ่มอื่นสลับภาษาล่ะก็! มึนไปเลยครับ…

บนลีนุกซ์ก็สามารถติดตั้งปุ่ม Grave ได้เช่นกัน โดยไฟล์ดั้งเดิมถูกพัฒนาเป็น Open Source เพื่อใช้งานกับ Debian และ Ubuntu แบบ 32 บิท ต่อมาทีมไอทีของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้พัฒนาสคริปต์ให้สามารถใช้กับลีนุกซ์ 64 บิทได้ สำหรับโปรแกรมติดตั้งปุ่ม grave บนลีนุกซ์สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

grave-key.tar.gz (44 KB. Credit – RMUTL NOC)

เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ผมอนุมานว่าไฟล์ถูกจัดเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Downloads จากนั้นเปิดโปรแกรม Terminal แล้วคีย์คำสั่งดังนี้

mx-user@mx-linux:/Downloads
$ tar -xvf grave-key.tar.gz
$ cd grave-key
$ sudo ./script.sh

Continue reading

ติดตั้ง MX Linux สุดยอดลีนุกซ์แห่งปี

ใช้งานลีนุกซ์มิ้นท์มานานก็ค่อนข้างเวิร์กดี แต่ช่วงนี้มีลีนุกซ์ค่ายหนึ่งที่มาแรงในปีนี้นั่นคือ MX Linux ปีที่แล้ว Manjaro มาแรงแซง Linux Mint ขึ้นอันดับหนึ่งได้ แต่ผมก็ยังไม่ได้ทดลองใช้งานดูสักที แต่ปีนี้ MX Linux แซง Manjaro ขึ้นอันดับหนึ่งด้วยคะแนนทิ้งห่างอันดับสองและสามเกือบครึ่ง เลยทำให้ผมสนใจอยากทดลองใช้ดูว่าเจ้าลีนุกซ์ค่ายนี้มีอะไรดีกันนะ?

Continue reading